พลังงานทดแทนที่ผลิตขึ้นใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

แก๊สโซฮอล์ คือ ส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ซึ่งเอทานอลเราสามารถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง รวมทั้งธัญพืช เช่นข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น ได้

p5_1

ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น โดยให้มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินลิตรละ 1.50 บาท และมีน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ใช้ 2 ชนิดคือ แก็สโซฮอล์ 95 ใช้แทนเบนซิน 95 และแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้แทนเบนซิน 91 ดังนั้นการที่เราเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จึงเป็นการช่วยชาติโดยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

เอทานอลเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

p5_2

เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจาก  การหมักพืช  เพื่อเปลี่ยนแปลงจากพืชเป็นน้ำตาลแล้ว  เปลี่ยนจากน้ำตาลมาเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อทำให้กลาย  เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่นนี้  เรียกว่า “เอทานอล (Ethanol)” เอทานอลที่นำไปผสมในน้ำมัน  เพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์  ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย

p5_6

การผลิตแก๊สโซฮอล์ ในประเทศไทยเกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อปี พ.ศ.2528 โดยโครงการส่วนพระองค์ ได้ศึกษาการผลิตแก๊สโซฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงาน  ทดแทน โดยผลิตเอทานอลจากอ้อย หลังจากนั้นก็เกิดความตื่นตัวทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้า  มาร่วมพัฒนาและนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์

ในปี พ.ศ. 2543 ปตท.ดำเนินการทดสอบการใช้  แก๊สโซฮอล์ในรถยนต์ พบว่า ช่วยลดมลพิษ ประหยัด  น้ำมัน และไม่มีผลต่อสมรรถนะและได้มีการผลิต  แอลกอฮอล์จากหัวมันสด โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ซึ่งจะส่งให้โรงกลั่นของ  บางจากผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งได้ทดลองจำหน่าย  เมื่อปี พ.ศ.2544 ในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก 5  แห่งในเขตกรุงเทพฯ โดยมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมัน  เบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 เล็กน้อย ซึ่งก็ได้ผล  ตอบรับเป็นที่น่าพอใจ

ไบโอดีเซล   (ฺBiodiesel)   เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน   เช่น

น้ำมันพืช ไขมันสัตว์หรือสาหร่าย ไปโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซล  ที่ผลิตจากปิโตรเลียม   โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก  และ  สามารถใช้แทนกันได้ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการ  ชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษ

การผลิตไบโอดีเซล

องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เป็นไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็น  สารประกอบทางเคมี ที่ประกอบด้วยกรดไขมัน (Fatty acid) และกรีเซอรีน (Glycerin) เมื่อ  ไตรกรีเซอไรด์นี้ รวมตัวกับสารเร่งปฏิกิริยาชนิดที่เป็นด่าง (Base catalyst) เช่น โปแตสเซียม  ไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide (KOH)) โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่เกินพอ (Excess alcohol) จะทำให้เกิดการรวมพันธะของกรดไขมัน และแอลกอฮอล์ เกิดเป็น “Biodiesel” โดย  ได้กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอุตสาหกรรมยา และ เครื่องสำอาง เป็นผลพลอยได้ (By product) ปฏิกิริยานี้ เรียกว่า “Transesterification” ดังรูป  โดยที่ R คือ คาร์บอน 16-18 อะตอม ซึ่งมีพันธะคู่ระหว่าง C = C ตั้งแต่ 1-3 คู่

รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของไบโอดีเซล โดยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลจากปาล์ม  และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548  มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิต  และการใช้ไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดัเซลร้อยละ 10 ปี 2555 หรือ 805 ล้านลิตร/วัน ส่งเสริม  การใช้วัตถุดิบทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชใช้แล้วรวมถึงน้ำมันสบู่ดำ และส่งเสริมการผลิตและ การใช้ไบโอดีเซลผสมน้ำมันดีเซล สัดส่วน 5% (B5) ในบางพื้นที่ตั้งแต่ปี 2548

Posted on กุมภาพันธ์ 12, 2013, in Uncategorized. Bookmark the permalink. 6 ความเห็น.

  1. 1 อำเภอ 1 ทุน ออกเกี่ยวกับปิโตรเลียมเยอะเลยครับ คุณครู อิอิ
    เท่าที่จำได้ เช่น
    – แก๊สโซฮอล์ E10 เป็นส่วนผสมระหว่างเอทานอลกับเบนซิน ในอัตราส่วนเท่าใด
    และ เขาถามว่า สูตรโครงสร้างของ NGV คือข้อใด ด้วยครับ อิอิ

  2. โอ้โห น่าสนใจมากเลยคะ

ใส่ความเห็น